เจออยู่ในสมุดบันทึกส่วนตัวของคุณพระจีนคณานุรักษ์
สมุดบันทึกเล่มนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของโป่หนู เป็กแฉ้(คณานุรักษ์) กุลโชติ
ผมได้ถ่ายสำเนาเก็บไว้ เวลาว่างก็เอามาเปิดอ่าน
ส่วนใหญ่เป็นตำราโหราศาสตร์, คาถาไสยศาสตร์ และตำรายาจีน
มีอยู่หน้าหนึ่งเป็นลายมือเขียนภาษาอังกฤษ
ผมขอคัดลอกมาให้อ่าน
แต่ด้วยความด้อยปัญญาในภาษาอังกฤษ
ชีวิตนี้ไม่เคยไปเรียนเมืองนอกเมืองนา
เลยอ่านแล้วไม่ค่อยจะรู้เรื่อง
ใครอ่านแล้วรู้เรื่อง ช่วยแปลให้ด้วยครับเจ้านายยยยยยย!!!
.........................................................................
Agreement entered into this day the 26th of December 1876. Between the Galena Mining Company Limited, Jalor and Raman on the one part and Tan Choo Beng on the other part.
That Tan Choo Beng hereby agrees to work the various mines or workings of the company and any other places of which he may be aware in Gua Tumbus and sell to the above named Company whatever Galena Ores may be obtained therefrom.
For which the Company agrees to pay the said Tan Choo Beng at the rate of $2.25 per picul for ores which will when smelted return from 55 % to 60 % and at the rate of $1.50 per picul for ores which when smelted will return 40 % ores of different per Centages to the above mentioned will be paid for according to value.
The Company will in the first instance supply Bores and Hammers which Tan Choo Beng must keep up and be responsible for also ore bag for the conveyance of the ore.
In cases of Sinking Shafts or Draining Levels such working must be properly carried on by being made safe and secure to the satisfaction of the Company’s Manager at the time being or any substitude he may appoint.
All ores to be conveyed from Gua Tambus to alongside the Companys road at Tan Choo Beng’s cost and risk after which the Company will take charge of it.
All ores to be weighed at the Company smelting shed and stand 106 Catties same as Patani Picul.
Powder will be supplied by the Company at the rate of $16 per keg, Fuse at 20 Cents per Coil. Dynamite $5.00 per packet and Detonators at $2.00 per tin.
Ore to be paid by cheque payable in Singapore.
This agreement to last for 20 years.
...............................................................................
คำแปล แบบชาวบ้าน
สัญญาฉบับนี้ทำขึ้นเมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๑๙
ระหว่างบริษัทกาลีน่าไมนิ่งจำกัด ยะลาและรามัน ฝ่ายหนึ่ง และ ตันจูเบ้ง อีกฝ่ายหนึ่ง
ซึ่ง ตันจูเบ้ง ในที่นี้ตกลงที่จะทำการขายแร่ตะกั่วทั้งหลายที่ขุดได้จากเหมืองต่างๆ
ตลอดจนที่ได้จากบริษัทต่างๆ หรือในสถานที่ต่างๆในตำบลถ้ำทะลุซึ่งอยู่ในความดูแลของตันจูเบ้งทั้งหมด
ให้กับบริษัทที่เอ่ยนามข้างต้น
ทางบริษัทจะจ่ายเงินให้ตันจูเบ้งในอัตรา ๒.๒๕ เหรียญต่อหาบ สำหรับแร่ที่ถลุงได้เนื้อแร่ ๕๕ – ๖๐%
และในอัตรา ๑.๕๐ เหรียญต่อหาบ สำหรับแร่ที่ถลุงได้เนื้อแร่ ๔๐%
สำหรับแร่ที่ถลุงได้ในอัตราเปอร์เซนต์ที่ต่างจากข้างบนจะจ่ายให้ตามมูลค่า
ในเบื้องต้นบริษัทจะสนับสนุนกระบอกสูบและสากตำแร่ให้ โดยทางตันจูเบ้งจะต้องดูแลรักษา
และรับผิดชอบกระสอบบรรจุแร่ และการขนส่งแร่
ทั้งนี้ระดับของเพลาขุดเจาะ และการขนถ่ายแร่ต้องกระทำด้วยความปลอดภัยมั่นคง
ตามความพึงพอใจของผู้จัดการบริษัทในเวลานั้นหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย
ตันจูเบ้งจะต้องรับผิดชอบค่าขนส่งแร่ทั้งหมดที่ขนจากตำบลถ้ำทะลุไปยังบริษัท ตลอดจนความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
แร่ทั้งหมดจะถูกนำไปชั่งน้ำหนักที่โรงถลุงแร่ของบริษัท
โดยกำหนดให้ ๑๐๖ ชั่งจีน เท่ากับ ๑ หาบของปัตตานี
บริษัทจะจำหน่ายดินปืนให้ในราคา ๑๖ เหรียญต่อถัง ชนวนระเบิดราคา ๒๐ เซนต์ต่อม้วน
ไดนาไมท์ราคา ๕ เหรียญต่อหีบ และเชื้อประทุราคา ๒ เหรียญต่อกระป๋อง
เงินค่าแร่จะจ่ายเป็นเช็คสั่งจ่ายในสิงคโปร์
สัญญาฉบับนี้มีผลบังคับใช้เป็นเวลา ๒๐ ปี
...............................................................................
จากสัญญาฉบับนี้บอกให้รู้ว่าสมัยนั้นผู้ที่มีอำนาจของตระกูลคือ ตันจูเบ้ง หรือหลวงสุนทรสิทธิโลหะ ซึ่งในบทความของ William Cameron เรื่อง On The Pattani ซึ่งตีพิมพ์ใน Journal Of The Singapore Branch Royal Asiatic Social ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๒๖ เรียกท่านว่า Tan Chew Beng, Datoh of the mines ผู้ที่คุมอำนาจเกี่ยวกับเหมืองแร่ในพื้นที่ถ้ำทะลุทั้งหมด
นอกจากนี้ยังทำให้รู้ว่าในสมัยนั้นแร่ดีบุกเรียกว่า galena ซึ่งหมายถึงตะกั่ว และกระบวนการทำเหมืองที่ถ้ำทะลุในสมัยนั้นต้องใช้การระเบิดหินเพื่อหาสายแร่ จึงมีการซื้อขายแร่แลกกับดินปืนและชนวนระเบิด เป็นแบบ barter trade ในปัจจุบันที่แลกขายสินค้ากัน
และมีการร่วมลงทุนโดยบริษัทต่างชาติลงทุนเครื่องมือ แต่ทางเรารับผิดชอบกระบวนการขุดและขนส่ง
บรรพบุรุษเราทันสมัยไม่เบาเลยนะครับที่กล้าทำสัญญาแบบนี้กับฝรั่งต่างชาติ
หลวงสุนทรสิทธิโลหะ(ตันจูเบ้ง) กับชาวต่างชาติ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น